โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Gastritis) อาจนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง

11:53 PM

โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Gastritis)

โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Gastritis) เกิดจาการที่เนื้อเยื่อบุ ผนัง ของกระเพาะอาหาร บวม แดง เมื่ออาหารไม่ตกถึงกระเพาะ และมีน้ำย่อยออกมาทำหน้าที่ย่อย อาหาร แต่เมื่อไม่มีอาหารตกถึงกระเพาะก็ทำให้น้ำย่อยทำการกัด ย่อยเนื้อเยื่อ ผนังของกระเพาะอาหารแทน เมื่อ นานเข้า ก็ทำให้ผนัง ของกระเพาะ แดง บวม เกิดการอักเสบ บวกกับ ในกระเพาะของเรามีเชื้อโรค แบคทีเรียอยู่มากมาย และก็มีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร และ เชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็ง มีชื่อว่า "เอช ไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori)" ซึ่งอาจติดต่อได้จากการสัมผัสน้ำลาย และ/หรือ อุจจาระของคนที่เป็นโรค จากการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ประมาณ 1-2 %

กระเพาะอาหาร
ภาพแสดง กระเพาะอาหาร cr http://haamor.com/


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ


  • กินยาแก้การอักเสบ หรือยาแก้ปวดกลุ่มเอนเสดส์ (NSAIDs,Non-steroidal anti inflammatory drugs) โดยเฉพาะการกินยาอย่างต่อเนื่อง เช่น แอสไพริน Ibuprofen Celecoxib และ Indomethacin หรือ ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าวจะก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร ก่อการอักเสบ และก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (โรคแผลเปบติค)
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มาก เป็นประจำ ไม่ทานอาหาร ปล่อยให้ท้องว่าง
  • การสูบบุหรี่ 
  • การดื่มเครื่องดื่ม กาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง มักทำให้อาการรุนแรงขึ้น จากการก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกกระเพาะอาหาร และกระตุ้นให้เซลล์เยื่อเมือกสร้างกรดเพิ่มขึ้น
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย เอช ไพโลไร เป็นเชื้อก่อมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งในกระเพาะอาหารอักเสบ
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง/ภูมิต้านตนเอง
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • ติดเชื้อราบางชนิด ซึ่งมักพบในผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น จากติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือโรคเอดส์
  • โรคจากที่น้ำดีจากตับซึ่งปกติจะอยู่เฉพาะในลำไส้เล็ก ล้นเข้าสู่กระเพาะอาหาร น้ำดีจึงก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบของเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
  • ความเครียด เพราะจะกระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งกรดจะก่อการระคายเคือง และ การอักเสบต่อเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร
  • อุบัติเหตุร้ายแรงที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสูง ซึ่งส่งผลให้กระเพาะอาหารสร้างกรดสูงขึ้นมาก เช่น อุบัติเหตุต่อสมอง หรือหลังการผ่าตัดใหญ่ เช่น การผ่าตัดสมอง หรือช่องท้อง จึงเกิดกระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง หรือแผลในกระเพาะอาหาร (Stress ulcer)
  • ดื่มกรด หรือ ด่าง ซึ่งทั้งกรด และด่างจะก่อให้เกิดการระคายเคือง และการอักเสบของเซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ การรักษา สาเหตุ และการรักษาประคับ ประคองตามอาการ
การรักษาตามสาเหตุ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย เอช ไพโลไร หรือการปรับเปลี่ยนยาแก้ปวด เมื่อโรคเกิดจากยาในกลุ่มเอนเสดส์ เป็นต้น 
การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยาช่วยย่อยอาหาร และยาบรรเทาอาการปวดท้อง เป็นต้น
นอกจากนั้น คือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือ เลิกสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ และจำกัด เครื่องดื่มมีกาเฟอีน

อาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ อย่างไร จึงควรพบแพทย์

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และการพบแพทย์ ได้แก่ กินยาตามแพทย์แนะนำ ให้ถูกต้อง สม่ำเสมอ
อาการ สังเกตความสัมพันธ์ของอาการกับอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ จำกัด หรือ งดอาหาร และเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดอาการ หรือที่เพิ่มความรุนแรงของอาการ
งด/เลิก บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีน
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆซ้ำหลัง จากรักษาโรคหายแล้ว
ป้องกันเบื้องต้นเมือเกิดอาการ ไม่ซื้อยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์ กินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ยาบาล หรือ เภสัชกร ก่อน

พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการต่างๆเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่อกังวลในอาการ
พบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เมื่ออาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระมีสีดำเหมือนยางมะตอย

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ก่อนจะสาย

การป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่สำคัญ คือ
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อป้องกันกระเพาะอาหารติดเชื้อต่างๆ
รักษาสุขภาพจิต เพื่อลดภาวะการสร้างกรดสูงของกระเพาะอาหาร
ไม่ซื้อยาแก้ปวด หรือ ยาสเตียรอยด์ กินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร
งด/เลิก บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีน
รักษา ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อกระเพาะอาหารอักเสบ

การรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เมื่อเป็นแล้ว

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อ H. Pylori นั้น แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อให้กรดลดลง และกระเพาะอาหารสามารถสมานแผลได้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาให้ยาในกลุ่มที่ใช้ป้องกันเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารร่วมด้วยส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori รักษาให้หายขาดได้โดยการรับประทานยาประมาณ 2 สัปดาห์ 

สำหรับโรคกระเพาะอาการที่เกิดจากการทำงานผิดปกติ อาจต้องรักษา โดยยาอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า Prokinetic ซึ่งเป็นยาที่ช่วยให้การเคลื่อนตัว ของกระเพาะกับลำไส้ หรือกระเพาะกับหลอดอาหารทำงานประสานกันได้ดีขึ้น 

ทั้งนี้ โรคกระเพาะอาหารไม่ถือเป็นโรคอันตราย แต่หากปล่อยไว้จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารกระเพาะทะลุ และกระเพาะอุดตัน ก็อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น นพ. สิริวัฒน์ มีคำแนะนำว่า ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกสะอาดในปริมาณไม่มากไม่น้อยเกินไป และให้เป็นเวลาไม่รับประทานอาหารรสจัด ควบคุมความเครียด ละเว้น แอลกอฮอล์ กาแฟ รวมถึงไม่รับประทานยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร หากทำได้เช่นนี้ โรคกระเพาะอาหารก็ไม่ใช่โรคใกล้ตัวคุณอย่างแน่นอน ที่มาจาก https://www.bumrungrad.co

สมุนไพรที่ช่วยบันเทา และรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ 




Advertisment


ข้อมูลจาก +G สูตรสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ สูตรหาทำทานได้ง่าย ลองทานกันดู
  • กล้วยน้ำว้า : นำผลมาปอกเปลือก หั่นเป็นแว่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง บดให้ละเอียดเป็นผง ใส่ขวดเก็บไว้ ใช้ผง 1-2 ช้อนโต๊ะชงน้ำร้อนดื่ม หรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน กินก่อนอาหารและก่อนนอน
  • ขมิ้นชัน : เป็นสมุนไพรของไทย ใช้เหง้าแก่สด ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัด 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน หินครั้งละ 3-5 เม็ด (ถ้าบรรจุแคปซูล กินครั้งละ 2 แคปซูล) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
  • ว่านหางจระเข้ : ใช้ใบสดที่เพิ่งตัดออกจากต้น นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 3 นิ้ว ล้างให้สะอากอีกครั้ง กินวันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น
  • กระเจี๊ยบเขียว : ใช้ผักลวกกินน้ำพริกทุกวัน เมือกลื่นๆ ในผลกระเจี๊ยบเขียว ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้
  • หัวปลี : นำปลีกล้วยน้ำว้ามาเผา แล้วบีบเอาแต่น้ำ ได้ประมาณครึ่งแก้ว ดื่มก่อนอาหาร รสชาติฝาดเฝื่อน กินยากมาก แต่มีตนกินติดกันประมาณ 3 วัน อาการปวดกระเพาะที่อักเสบเรื้อรังมานานหายสนิท

ที่มาข้อมูล http://haamor.com/ , https://www.bumrungrad.co, +G

Share this :


Previous
Next Post »
0รู้ทันโรคมะเร็ง ป้องกันด้วยสมุนไพรไทย



Advertisment