ขมิ้นชัน (Tumeric) สมุนไพรป้องกันมะเร็ง ยับยั้งเซลล์ก่อมะเร็ง

8:12 PM

ขมิ้นชัน (Tumeric)

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยเราที่ใช้กันมายาวนาน ระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีรายงานการศึกษาวิจัยของขมิ้นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและป้องกันมะเร็งนับร้อยเรื่อง จนมีคำกล่าวที่ว่า "การกินขมิ้นชันวันละ 1 ช้อนชา ทำให้ห่างไกลจากการเป็นมะเร็ง" ทั้งนี้สารในขมิ้นชันจะไปยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง
สมุนไพร ขมิ้นชัน (Tumeric)
สมุนไพร ขมิ้นชัน (Tumeric) cr:http://edtech.ipst.ac.th/

ข้อมูลจำเพาะ

ขมิ้นชันสีเหลือง ๆ เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว  คนทั่วไปส่วนใหญ่รู้จกกันในชื่อว่า ขมิ้น  มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น  ทางภาคใต้บางแห่งเรียกว่า  ขี้มิ้น  หมิ้น  หัวขมิ้น  ทางภาคเหนือบางแห่งเรียกว่า  ขมิ้นแกง  ขมิ้นหัว  ขมิ้นหยวก    มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นชันจัดเป็นพืชล้มลุก  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  เซอคูมา ลองกา  (Curcuma longa Linn.)  จัดอยู่ในวงศ์  Zingiberaceae  ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับพืชจำพวก ขิง
          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขมิ้นชัน  เป็นพืชที่มี ลำต้น อยู่ใต้ดิน เรียกว่า  เหง้า (Rhizome) ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกระบอก  แตกแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกมาด้านข้างทั้งสอง  เนื้อในของส่วนเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม  มีกลิ่นหอมเฉาะตัว
          ใบ  เจริญออกมาจากเหง้า  เป็นใบเดี่ยวมีก้านใบยาวเรียงเป็นวงซ้อนกันแน่นมองดูคล้ายกับเป็นลำต้นมีลักษณะกลม ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  ขนาดใบกว้างประมาณ  12 – 15  เซนติเมตร  ยาวประมาณ  30 – 40  เซนติเมตร
          ดอก  เป็นดอกช่อ มีดอกย่อย ๆ มีสีเหลืองอ่อน  เจริญออกมาจากส่วนเหง้าแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ ปกติจะบานครั้งละ  3 – 4  ดอก  มีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู
          ผล  มีลักษณะกลม ๆ มีอยู่  3  พู


ทำไมขมิ้นชันจึงต้านการเกิดมะเร็ง

สารสำคัญอะไรในขมิ้นชัน 

                ที่ขมิ้นชันมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งและรักโรคกระเพาะอาหารนั้น  เพราะมีสารที่ออกฤทธิ์สำคัญอยู่   2  กลุ่ม   คือ
                1. กลุ่มสารที่ให้สีเหลือง  คือ   สารที่ทำให้ขมิ้นชันมีสีเหลือง  เหลืองส้ม หรือเหลืองแสด  คือสารในกลุ่ม เคอร์คูมินอยด์  (Curcuminoids)
                2. กลุ่มสารที่ให้น้ำมันหอมระเหย   มีสารประกอบสำคัญ  เป็นนำมันหอมระเหย  เช่น  สาร  Turmerone    Zingiberene   Borneol  เป็นต้น

           จากการวิจัยพบว่า  สารเคอร์คูมินอยด์  เป็นสาร  แอนติออกซิแดนต์ (Antioxidant)  ทีมีป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้าน  เชื้อ Helicobacter  pylori  ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญ  ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
          นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ป้องกัน  ลดการแบ่งตัว  ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง  ในหลอดทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะใน  มะเร็งปอด  เต้านม  ต่อมลูกหมาก  ลำไส้ และ ตับอ่อน
          ส่วนที่นำขมิ้นชันมาใช้กับคนเรานั้นได้แก่  ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งตับอ่อน  และมะเร็งกระดูก

วิธีเลือกและเก็บขมิ้นชันให้ได้คุณภาพที่ดี

           การนำขมิ้นชันมาใช้ทำอาหารทำได้ทั้งแบบเหง้าสดและบดเป็นผง  โดยมีวิธีการดังนี้
           เหง้าสด   ควรเลือกเหง้าที่มีอายุปลูก  9  -  12   เดือน  สังเกตได้จากเหง้าขมิ้นชัน  จะมีขนาดความกว้างและยาวประมาณนิ้วชี้หรือนิ้วก้อยของผู้ใหญ่  สีเหลืองเข้ม หรือเหลืองแสด  มีกลิ่นฉุน
           ชนิดบดเป็นผง      ควรเลือกผงสีเหลืองเข้มหรือแสด  ไม่มีสิ่งเจือปน  โดยเฉพาะหากอยู่ในร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน  อาจนำผงขมิ้นชันมาผสมกับอย่างอื่น  จึงได้ขมิ้นชันที่ไม่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์  สารออกฤทธิ์ต่าง ๆ จะลดน้อยลงไปด้วย
           ดังนั้นการซื้อเหง้าขมิ้นชันแล้วนำมาบดเอง  จะทำให้ได้ผงขมิ้นชันที่สะอาด  ปลอดภัย  ได้คุณภาพ  มากกว่า  เภสัชกรหญิง  ดร.สุภาภรณ์  ปิติพร  แห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  แนะนำวิธีการทำผงขมิ้นขันดังนี้
          1. ซื้อเหง้าขมิ้นชันที่มีอายุ  9 – 12  เดือน  นำมาล้างน้ำให้สะอาด  แล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ
          2. วางชิ้นขมิ้นชันบนตะแกรง  นำไปตากแดดในที่ร่มจนกว่าขมิ้นชันจะแห้ง  หรือนำไปอบในตู้อบ  โดยใช้ความร้อนไม่เกิน  96  องศาเซลเซียส  มิฉะนั้นจะเกิดสารพิษได้
          3. บดขมิ้นชันให้เป็นผงละเอียด  เก็บใส่ขวดโหลที่แห้งสนิท  ไม่ควรถูกแสงแดด  เพราะจะทำให้สาร เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids)  ถูกทำลายไป
          4. ไม่ควรเก็บผงขมิ้นชันไว้นานเกินไป  เพราะน้ำมันหอมระเหยจะระเหยไปหมด  จึงทำผงขมิ้นชันไว้พอประมาณ

          อย่างไรก็ตามการกินขมิ้นชันช่วยเสริมภูมชีวิตได้ส่วนหนึ่ง  ก็ควรจะต้องดูแลไลฟ์สไตล์ด้านอื่น ๆ เช่นออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ ทานอาหารพอเหมาะ ให้สมดุลด้วยก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนเราด้วย

สิ่งน่าสนใจของเรา


เรียบเรียง รู้ทันมะเร็ง



Advertisment


ที่มา http://edtech.ipst.ac.th/

Share this :


Previous
Next Post »
0รู้ทันโรคมะเร็ง ป้องกันด้วยสมุนไพรไทย



Advertisment