กระเทียม (Garlic) สรรพคุณและประโยชน์ต้านมะเร็ง

3:44 AM

กระเทียม (Garlic)

กระเทียม (Garlic) เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่ไทยเรากินมาช้านาน ใช้ปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยหรืออาหารฝรั่ง ส่วนใหญ่แล้วก็มักมีกระเทียมเป็นส่วนประกอบของอาหารทั้งนั้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารแล้ว ก็ยังมีสรรพคุณและประโยชน์ ต่อการป้องกันโรคมะเร็งอีกด้วย

ภาพประกอบ กระเทียม (Garlic) และผักอื่นๆ
ภาพประกอบ กระเทียม (Garlic) และผักอื่นๆ

กระเทียม สรรพคุณ ทางด้านอาหาร


  • ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร เช่น ทำน้ำพริก หมูทอดกระเทียม พริกน้ำปลา

กระเทียม สรรพคุณทางยา

  • ช่วยลดระดับไขมัน
  • ลอคอลเลสเตอรอล
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • กำมะถันในกระเทียม สามารถยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็ง ที่ชื่อ ไนโตรซามีน (Nitrosamine) ในร่างกาย
  • สาร ซีลีเนียม (Selenium) ที่พบในกระเทียม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดอันตรายจาการเกิดอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ในกระเทียม 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี และให้คุณค่าทางอาหารดังนี้

  • น้ำ 58.6 กรัม 
  • ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 33.1 กรัม 
  • โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม
  • โปรตีน 6.4 กรัม 
  • ซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 181 มิลลิกรัม
โฟเลท 3.1 ไมโครกรัม
แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 
ใยอาหาร 2.1 กรัม

การรับประทานกระเทียมอาจทำให้มีลมหายใจและกลิ่นตัวเหม็น ด้วยเหตุนี้บริษัทผู้ผลิตอาหาร
และยาบางรายจะผสมชะเอมเทศหรือลิคอริซ (Liquorice) เพื่อกลบกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึง
ประสงค์ และยังสามารถให้ประโยชน์ทางยาอีกด้วย เช่น รากหรือเหง้าของชะเอมเทศมีสาร
ในกลุ่มไกลเซอร์ไรซิน (Glycyrrhizin) ที่มีสรรพคุณช่วยดับกระหาย มีฤทธิ์รักษาแผลใน
กระเพาะอาหาร ต้านเชื้อไวรัส และปกป้องตับจากการทำลายของอนุมูลอิสระ  
  • การรับประทานกระเทียมปริมาณมากในขณะท้องว่างอาจทำให้แสบกระเพาะอาหาร คลื่นไส้และท้องอืดได้ บางคนเมื่อผิวหนังสัมผัสกระเทียมอาจเกิดการระคายเคือง แพ้ มีอาการคันและมีผื่นแดงได้
  • การรับประทานกระเทียมปริมาณมากติดต่อกันนานเกิน 10 วัน จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเทียม เนื่องจากกระเทียมอาจเสริมฤทธิ์ให้เลือดแข็งตัวช้าและไหลไม่หยุดหากเกิดบาดแผล 
  • เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณสูง เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคไต  และตับที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานกระเทียมติดต่อกันเป็นเวลานาน


Advertisment




ที่มา:www.nutrilite.co.th

Share this :


Previous
Next Post »
0รู้ทันโรคมะเร็ง ป้องกันด้วยสมุนไพรไทย



Advertisment